ประวัติความเป็นมา:
ปี พ.ศ. 2507 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูสกลนคร เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2507
ปี พ.ศ. 2513 ยกฐานะจากโรงเรียนฝึกหัดครูสกลนคร เป็น “วิทยาลัยครู” เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2513 วิทยาลัยครูสกลนคร ได้มีประกาศจัดตั้งหน่วยประเคราะห์ทางด้านวัฒนธรรมขึ้น
ปี พ.ศ. 2518 มีประกาศพระราชบัญญัติครูซึ่งได้กำหนดบทบาทภาระหน้าที่ของวิทยาลัยครูไว้ 5 ข้อด้วยกัน ข้อหนึ่งในจำนวน 5 ข้อนี้ ได้กำหนดให้วิทยาลัยครูปฏิบัติหน้าที่ “ส่งเสริมและเผยแพร่ทางวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ” และได้จัดงาน “มูนมังอีสาน” ขึ้นเป็นครั้งแรก
ปี พ.ศ. 2520 – 2522 วิทยาลัยครูสกลนคร ในฐานะเป็นหน่วยประเคราะห์ด้านวัฒนธรรม ได้รับเงินอุดหนุนการดำเนินงานจากกองวัฒนธรรม กรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการโดยมีหน้าที่มุ่งเน้นการอนุรักษ์ ส่งเสริม และเผยแพร่วัฒนธรรม
ปี พ.ศ. 2523 สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ มีนโยบายให้จัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดขึ้นในโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำจังหวัด ดังนั้น วิทยาลัยครูสกลนคร จึงมีภาระหน้าที่ในฐานะเป็น “ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร”
ปี พ.ศ. 2524 ได้เปลี่ยนชื่อจากศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเป็น “ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม”
ปี พ.ศ. 2542 สถาบันราชภัฏสกลนคร ได้เปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานของสถาบันอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 ในการนี้ได้เปลี่ยนจากคำว่า “ศูนย์” เป็นคำว่า “สำนัก” ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 5 สำนัก คือ สำนักกิจการนักศึกษา สำนักวางแผนและพัฒนา สำนักวิจัยและบริการวิชาการ สำนักส่งเสริมวิชาการ และสำนักศิลปวัฒนธรรม
ปี พ.ศ. 2547 สถาบันราชภัฏทั่วประเทศได้รับการยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏ ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 และได้เปลี่ยนโครงสร้างการบริหารมหาวิทยาลัยใหม่อีกครั้ง โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 11 ส่วนราชการ ประกอบด้วย คณะ 6 คณะ และสำนัก สถาบัน 5 สำนัก สถาบัน ซึ่งสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม เป็นส่วนราชการหนึ่งในจำนวน 11 ส่วนราชการดังกล่าว และมีงานที่รับผิดชอบ 4 งาน ดังนี้ 1) งานบริหารทั่วไป ประกอบด้วย งานสำนักงานและงานประกันคุณภาพ 2) งานวิชาการและงานวิจัยทางวัฒนธรรม 3) งานอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม 4) งานศึกษา ฝึกอบรมทางภาษาและวิเทศสัมพันธ์ ประกอบด้วย งานศึกษาและฝึกอบรมทางภาษา รับผิดชอบศูนย์ภาษา ศูนย์ประสานงานชาวต่างชาติ งานวิเทศสัมพันธ์และงานอาเซียนและอาณาบริเวณศึกษา ได้แก่ ศูนย์เวียดนามศึกษาศูนย์ลาวศึกษา ศูนย์จีนศึกษา
WEBSITE