นโยบายของสถาบันอุดมศึกษา

กรอบการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ปี พ.ศ. 2568 ตามแนวนโยบายสภามหาวิทยาลัย มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

แนวนโยบายของสภามหาวิทยาลัย

เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายหลักดังกล่าว สภามหาวิทยาลัยซึ่งกำหนดแนวนโยบายเพื่อเป็นกรอบแนวทางในการพัฒนามหาวิทยาลัย ดังนี้

1. Positioning/The Right Direction (ตำแหน่งและทิศทางของมหาวิทยาลัย)
(1) พื้นที่เป้าหมาย (Target Area) ในระดับต่าง ๆ
• ระดับท้องถิ่น
– สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์
• ระดับภาค
– ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
• ระดับภูมิภาค
– อาเซียน  เน้นประเทศ ลาว เวียดนาม
  – อาเซียน + 3 เน้นประเทศ จีน
  – อาเซียน + 6 เน้นประเทศ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์
(2) กลุ่มเป้าหมาย (Target Group)
• นักเรียน ม.6/ปวช. ในท้องถิ่น
• นักเรียนมัธยมปลาย ที่ระดับ ม.4, 5 และ 6 
(Non – Degree Program/Credit Bank)
• ผู้ปฏิบัติงานภาครัฐ/เอกชน/ผู้ประกอบการในท้องถิ่น
• นักเรียน/นักศึกษาจาก ลาว เวียดนาม จีน นักศึกษาโครงการแลกเปลี่ยนจาก อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์
• นักศึกษาภาคพิเศษ (เสาร์-อาทิตย์) ภาคบัณฑิตศึกษา
• ผู้สูงวัย/ปราชญ์ชาวบ้าน/ทายาทกลุ่มต่าง ๆ
2. Sizing/The Right Size or Smart Size (มหาวิทยาลัยควรมีขนาดที่เหมาะสมและพัฒนาตามแนวคิดจาก “Small is Beautiful”สู่ “Small is Powerful”)
(1) แนวโน้มจำนวนนักเรียน/เด็กวัยเรียนลดลง จำนวนนักศึกษาที่เหมาะสมโดยประมาณ
• จำนวนนักศึกษาใหม่แต่ละปี  ~  2,000 ± 5% คน 
• จำนวนนักศึกษาทั้งหมด       ~  8,000 ± 5% คน
• ผู้ที่ประสงค์จะพัฒนาศักยภาพตนเอง/เฉพาะทาง/วิชาชีพ 
(2) จำนวนบุคลากร ทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน/คุณวุฒิ – ศักยภาพ
สอดคล้องกับจำนวนนักศึกษา/หลักสูตร 
(3)โครงสร้างพื้นฐาน/อาคารสถานที่/แหล่งเรียนรู้ – ICT ที่เหมาะสมกับจำนวนนักศึกษา – บุคลากร และเหมาะสมกับยุคสมัย
3. งานจัดการศึกษา (จัดการศึกษาตามความต้องการทั้งระดับท้องถิ่นและระดับประเทศตามแนวคิด Demand Create Supply)
(1) Degree Program ร่วมมือกับผู้ใช้บัณฑิตและองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาหลักสูตรในระดับปริญญา ให้มีจุดเด่นสะท้อนอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยและเท่าทันการเปลี่ยนแปลง
ในศตวรรษที่ 21
• พัฒนาหลักสูตรใหม่เชิงบูรณาการโดยความร่วมมือของหลากหลายศาสตร์/สาขาวิชา และสอดคล้องกับแนวโน้มของการประกอบอาชีพในอนาคต 
• มีการพัฒนารายวิชาใหม่ ๆ ในเชิงบูรณาการโดยมีการจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้ร่วมกันจากหลากหลายศาสตร์/สาขาวิชา (Team Teaching/Learning Process) โดยอาจเริ่มต้นจากรายวิชาศึกษาทั่วไป เช่น รายวิชาที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิศวกรสังคม (Social Engineer) รายวิชาที่มีกระบวนการในการพัฒนา Soft Skill มีการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากรกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค (Student – Staff Exchange Program)
• ปรับรูปแบบ/วิธีการในการเทียบโอนประสบการณ์ และ Credit Bank      ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคม/การเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 
(2) Non – degree Program เป็นหลักสูตรระยะสั้นที่เน้นความรู้หรือประสบการณ์ใหม่ ๆ หรือหลักสูตรที่เป็นความต้องการขององค์กรในท้องถิ่นทั้งภาครัฐ/เอกชน (Demand Side)
• สำหรับนักศึกษา มรสน./บุคลิกรในท้องถิ่น/ครู – บุคลากรทางการศึกษา/ผู้สูงวัย/สำหรับนักศึกษาจากลาว เวียดนาม และจีน 
• คณะทุกคณะและศูนย์วิชาศึกษาทั่วไปพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นแบบ Non – degree Program เพื่อเพิ่มทักษะและประสบการณ์ใหม่ๆ ให้แก่นักศึกษาและสอดคล้องกับโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Disruptive Change) หลังวิกฤตโควิด – 19 ซึ่งส่งผลต่อวิถีการดำเนินชีวิตแบบใหม่(จาก New Abnormal ไปสู่ New Normal และ Next Normal) ตลอดจนร่วมมือกับโรงเรียนในท้องถิ่นจัดทำหลักสูตรระยะสั้นสำหรับนักเรียนมัธยมปลายเพื่อเป็น Credit Bank และเทียบโอนเมื่อเข้าเรียนในระดับ Degree Program สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้นำหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นตามความต้องการของบุคลากรในหมู่บ้าน/ชุมชนร่วมกัน
(3) พัฒนากระบวนการและเครือข่ายความร่วมมือกับโรงเรียน/สถานศึกษา 
ในเครือข่ายในการผลิตและพัฒนาครู โดยใช้ School – Integrated Learning (SIL) และร่วมมือกับองค์กร
ในท้องถิ่นทั้งภาครัฐและเอกชน ในการบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงานโดยใช้ Work – Integrated Learning (WIL) เพื่อให้นักศึกษามีประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพของตนเองและเรียนรู้ในโลกแห่งการทำงาน ตลอดจนร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ ในการพัฒนาบุคลากรร่วมกันในการ Upskill, Reskill หรือ Multi skill การพัฒนาจากรายวิชาศึกษาทั่วไป เช่น รายวิชาที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิศวกรสังคม (Social Engineer) รายวิชาที่มีกระบวนการ   ในการพัฒนา Soft Skill
(4) สร้างวัฒนธรรมการเป็นผู้ประกอบการให้แก่นักศึกษาและบุคลากร (Entrepreneurship/Entrepreneurial Culture)
(5) ส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ให้ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน/การเรียนรู้
ให้เหมาะสมกับโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Disruptive Change) และเกิดผลกระทบต่อวิถีการดำเนินชีวิตสู่วิถีแบบ New Normal โดยเฉพาะหลังวิกฤตโควิด – 19 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้อย่างสมดุลระหว่างการ Teaching, Coaching และ Facilitating Distance Learning ทั้ง Online และ Onsite (Blended Learning) โดยใช้ Platform ที่เหมาะสม ทั้ง Physical Platform และ Digital Platform สร้างวัฒนธรรมใหม่แห่งการเรียนรู้ (New Culture of Learning) ทั้ง Love to Learn, Learn to Learn, Learn to Love และ Learn to Live 
(6) พัฒนานักศึกษาและบุคลากรให้มีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะด้าน 
Soft Skill รวมทั้งพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ (ภาษาที่ 2) และภาษาอาเซียนหรือภาษาจีน (ภาษาที่ 3) 
ให้แก่ นักศึกษาและบุคลากรทุกประเภท 
(7) ดำเนินโครงการ “ทายาทเกษตรกร” (สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่กลับสู่ท้องถิ่น) และ“โครงการให้โอกาสทางการศึกษา” (ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม) อย่างเป็นรูปธรรมและมีการติดตาม และประเมินผลเป็นระยะ ๆ 
(8) การจัดกิจกรรมนักศึกษาถือเป็นส่วนหนึ่งของ “การจัดการศึกษา” เป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์เพื่อตอบโจทย์วัฒนธรรมใหม่ของการทำงาน การเรียนรู้และการใช้ชีวิต (New Culture of Working, Learning and Living) ในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งกิจกรรมส่งเสริมและการพัฒนา Mindset (Growth Mindset, Outward Mindset), EQ (Emotional Quotient), RQ (Resilience Quotient) DQ (Digital Quotient) และ Soft Skill โดยใช้กระบวนการวิศวกรสังคม จัดเวลาในแต่ละสัปดาห์อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง ให้นักศึกษามีเวลาว่างตรงกัน (เช่น ทุกบ่ายวันพุธ เป็นต้น) เพื่อให้เกิดการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์/พัฒนาทักษะ
ต่าง ๆ ร่วมกัน
• ฝึกทักษะ/กิจกรรมในการสร้างผู้ประกอบการ (Entrepreneurship)/
กล้าคิด – กล้าทดลอง – ไม่กลัวความล้มเหลว
(9) ส่งเสริม สนับสนุน โรงเรียนวิถีธรรมแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ให้เป็น
ศูนย์ฝึกปฏิบัติการและการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนรู้เพื่อเป็นกรณีศึกษาหรือต้นแบบให้กับนักศึกษาสายครุศาสตร์ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก – โรงเรียนในท้องถิ่น
(10) การจัดทำแผนการศึกษาระยะ 5 ปี เพื่อการบริหารจัดการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร
• มีการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากรกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค (Student – Staff Exchange Program) สร้างเครือข่ายความร่วมมือหน่วยงานภาครัฐเอกชน ผู้นำหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นตามความต้องการของบุคลากร ในท้องถิ่น และชุมชนอื่น ๆ ร่วมกัน
4. งานวิจัยและบริการวิชาการ
(1) วิจัยและสร้างนวัตกรรมโดยใช้ Area Based/Community Based Research 
โดยควรเป็นงานวิจัยแบบ Package Research มองภาพใหญ่ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาหรือแก้ปัญหาของท้องถิ่น/จังหวัด โดยการร่วมมือกันของหลากหลายคณะ สาขาวิชา ศาสตร์ และหน่วยงานในท้องถิ่น ตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง 
(2) ร่วมมือกับจังหวัดและองค์กรทั้งภาครัฐ/เอกชน และชุมชน ในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในท้องถิ่นในการศึกษาวิจัย (Community Based Research, CBR) โดยใช้แนวคิดของ BCG – Model (Bio – economy, Circular economy และ Green economy) และ Eco society และการบริการวิชาการ       ให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น เช่น ป่าเศรษฐกิจครอบครัว ป่าเศรษฐกิจชุมชน เพื่อการพึ่งตนเอง พึ่งกันเองและเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการแบ่งปัน ภายใต้หลักการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างต้นแบบ (Model) หรือแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) ในการพัฒนาท้องถิ่น โดยให้คณะทุกคณะและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม 
(3) ใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ (Bio – Diversity) เพื่อวิจัย ตลอด Value Chain ของพืชอาหาร, พืชสมุนไพรและผลผลิตทางเกษตรทั้งพืชและสัตว์ในท้องถิ่นเพื่อ “สร้างสรรค์คุณค่า” (Value Creation) และทำให้เกิด “มูลค่า” นำไปสู่ OTOP Village/OTOP Market 
(4) พัฒนาระบบฐานข้อมูลที่จำเป็นต่อการบริหารและการจัดการศึกษา ทั้งระดับท้องถิ่น ระดับภาค และระดับประเทศ ในด้านเศรษฐกิจ (Local Economy, การค้าชายแดน, เขตเศรษฐกิจพิเศษ) ด้านการศึกษา สังคม และสิ่งแวดล้อม สภาพแรงงานและความต้องการกำลังคนในท้องถิ่น/ภาค
(5) ศึกษารูปแบบหรือแนวทางในการสร้างสรรค์นวัตกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วทั้งแบบ Online และ Onsite (Blended Learning) โดยใช้โรงเรียนวิถีธรรมแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นกรณีศึกษา (เช่น งานวิจัยเกี่ยวกับ Mindfulness และ Executive Function หรือ EF กับการพัฒนาเด็กเล็ก) เพื่อนำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับบุคลากร นักศึกษาสาขา
ครุศาสตร์ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือโรงเรียนระดับปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา ในท้องถิ่น
(6) ศึกษารูปแบบและความเป็นไปได้ในการสร้างแหล่งเรียนรู้และการส่งเสริม
สุขภาวะทุกช่วงวัย โดยเฉพาะผู้สูงวัยเพื่อรองรับ Aging Society (Care Center or Wellness Center) 
เพื่อนำไปสู่ Well – being Society 
(7) การบริหารจัดการงานวิจัย โดยสร้างสภาพแวดล้อม/ระบบนิเวศการวิจัย (Research Ecosystem) ให้เอื้อต่อการวิจัยรับใช้สังคม ทั้งระเบียบ ระบบกลไก แหล่งทรัพยากร ความร่วมมือ ระหว่างหน่วยงานภายในและองค์กร/ชุมชนในท้องถิ่น โดยคำนึงถึงทั้ง “คุณค่า” และ “มูลค่า”
(8) การขับเคลื่อนนโยบายในการวิจัยของกระทรวงวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
(9) การสร้างเครือข่ายและความร่วมกับต่างประเทศในการวิจัยและการนำเสนอผลงานการวิจัยในระดับชาติและนานชาติ
5. งานด้านวัฒนธรรม
ใช้ความหลากหลายทางวัฒนธรรมในท้องถิ่น (Culture Diversity) ประยุกต์
กับศาสตร์ด้านสังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีดิจิทัล และศาสตร์อื่น ๆ ให้เป็นวัฒนธรรมที่จับต้องได้ (Tangible Culture) สื่อสารผ่าน Online และ Onsite อย่างเหมาะสม (Online Merge Onsite หรือ OMO) เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างสร้างสรรค์ (Creative Economy) เช่น การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
กลุ่มชาติพันธุ์ การท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy Tourism) การท่องเที่ยวอิงศาสนธรรมของทุกศาสนา 
การสำรวจและส่งเสริมช่างฝีมือพื้นบ้านที่เป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น (Art and Craft village/Art and Craft Market) และสร้างคุณค่าและมูลค่าศิลปะและวัฒนธรรมด้วยนวัตกรรม ศูนย์ความเป็นเลิศด้านศิลปะและวัฒนธรรม “การสร้างโมเดลพิพิธภัณฑ์เสมือนจริง” ทำหน้าที่รวบรวมผลงานศิลปะ และสร้างพิพิธภัณฑ์เสมือนจริง หรือ Virtual Reality (VR) หรือ Augmented reality (AR) เพื่อสร้างสรรค์ศิลปินรุ่นใหม่ ๆ สร้างแรงบันดาลใจให้เด็ก ๆ ที่อยากเป็นศิลปิน ซึ่งในอนาคตศิลปะจะเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศด้วย (สกลนคร : โค-ข้าว-เม่า-คราม สร้างพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงเชิงวัฒนธรรม อารยธรรม แหล่งท่องเที่ยวศิลปะและวัฒนธรรมกินได้สร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทั้ง Onsite/Online “ภูมิปัญญาและวิถีชีวิตสกลนครสู่พิพิธภัณฑ์ออนไลน์”
6. งานด้านบริหารจัดการ
(1) บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลและการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ 
โดยใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือในการบริหารจัดการสมัยใหม่ (Management Tools) ให้เหมาะสมกับองค์กร
(2) ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทั้งสายวิชาการ และ
สายสนับสนุน ทั้งด้านวิชาการ/วิชาชีพเฉพาะ ให้ทันต่อโลกของการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21
• ด้านผลงานทางวิชาการ/วิชาชีพเฉพาะในรูปแบบที่หลากหลาย และ
มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ เพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ/วิชาชีพเฉพาะ
• กรอบความคิดในการทำงาน (Mindset)
– การทำงานข้ามศาสตร์/สาขาวิชา/หน่วยงาน
– สร้างแรงจูง/สภาพแวดล้อมให้เกิดความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา (Learning Agility) และปรับตัวให้ทันต่อโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง (Adaptability)
– ปรับวิธีการใช้ชีวิตและการทำงาน (New Culture of Living and Working) 
ให้สอดคล้องกับยุค New Normal และ Next Normal เช่น Distance Learning/Distance Working/Work from Home เป็นต้น 
(3) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยใช้ Physical Platform (เช่น Learning Space, Co – Working Space, Co – Living Space, Physical distancing – Classroom ฯลฯ) และ Digital Platform (เช่น WIFI, Internet in the Campus, Zoom, Microsoft Team, Google Meeting, MOOC ฯลฯ) ทั้ง Real World และ Virtual World  
(4) แสวงหาความร่วมมือกับองค์กรทั้งภาครัฐ/เอกชน ทั้งในและต่างประเทศ 
เพื่อพัฒนา การศึกษา การวิจัย และการพัฒนาบุคลากรร่วมกัน 
(5) สนับสนุนให้บุคลากรมีโอกาสลาเพื่อไปทำงานร่วมกับองค์กรวิชาชีพทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาศักยภาพ – ประสบการณ์ (Professional Leave) และถือเป็นส่วนหนึ่งของภาระงาน  
(6) ส่งเสริมการใช้พื้นที่และศักยภาพของมหาวิทยาลัยในการสร้างรายได้และพัฒนานักศึกษาให้มีประสบการณ์ในการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) 
(7) ปรับปรุงหรือออกระเบียบ ข้อบังคับ แนวปฏิบัติหรือการจัดตั้งกองทุน
เพื่อการพัฒนาด้านต่าง ๆ ให้มีความทันสมัย มีความยืดหยุ่น คล่องตัวในการปฏิบัติเพื่อให้สอดคล้อง
กับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 (Disruptive Change)  
(8) มีระบบกลไกในการติดตามการดำเนินงานตามแนวนโยบายสภามหาวิทยาลัย
ติดต่อเรา